วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การประดิษฐ์ตุ๊กตาออมสินปูนพลาสเตอร์

การประดิษฐ์ตุ๊กตาออมสินปูนพลาสเตอร์

การรู้ค่าของการเก็บออมจะส่งผล ให้เป็นคนประหยัด มัธยัสถ์ และรู้จักว่างแผนงานขั้นต้นในการใช้จ่ายเงิน ทอง อันเป็นแนวทางขจัดความสุรุ่ยสุร่าย และการใช้จ่ายที่ไม่ประมาณตน ค่าใช้จ่ายที่พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ให้กับลูกหลานที่เป็นเยาวชนวัยเรียนทุก ๆ วันเป็นค่าอาหารกลางวัน ค่าขนมและค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด เช่น ซื้อวัสดุ อุปกรณ์การเรียน ถ้าใช้จ่ายอย่างประหยัดและอดออมใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น ก็สามารถเก็บเศษเงินที่เหลือรวบรวมสะสมไว้เป็นเงินสำรองในการศึกษาต่อไปได้และหากสามารถประดิษฐ์ภาชนะ บรรจุ หรือที่เรียกว่า “ออมสิน” สำหรับใส่เศษเงิน ช่วยให้เกิดความภูมิใจในการออมทรัพย์เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะถ้าได้มีการประดิษฐ์ออมสินแข่งขันกันตามเอกลักษณ์เฉพาะของตน ก็จะแสดงถึงพัฒนาด้านความคิดสร้างสรรค์เพิ่มพูนขึ้นเป็นทวีคูณ

ในการประดิษฐ์ออมสิน (หล่อออมสินปูนพลาสเตอร์) โดยมีวัสดุ อุปกรณ์และกระบวนการตามขั้นตอน ต่อไปนี้

วัสดุ อุปกรณ์


1. ปูนพลาสเตอร์

2. แบบแม่พิมพ์ออมสิน

3. ภาชนะใส่ส่วนผสม

4. น้ำสะอาด

5. แผ่นพลาสติก หรือกระจก

6. มีดสำหรับตบแต่ง

7. กระดาษทรายละเอียด

8. แก้วพลาสติกสำหรับตักปูนพลาสเตอร์




ขั้นตอนการทำ


1. นำน้ำสะอาดใส่ภาชนะอัตราส่วนปูนพลาสเตอร์ 1.5 ส่วน ต่อ น้ำ 1 ส่วน ผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน

2. ใช้แก้วน้ำพลาสติกตักปูนพลาสเตอร์ที่ผสมกันได้เป็นเนื้อเดียวกัน เทลงในแบบแม่พิมพ์ เพื่อให้ปูนพลาสเตอร์เข้าไปทุกส่วนของแม่พิมพ์ เทปูนพลาสเตอร์ส่วนที่เหลือคืนกับภาชนะเดิม นำแม่พิมพ์ไปวางบนแผ่นพลาสติกหรือกระจก นำแม่พิมพ์ตัวอื่น ๆ ทำเหมือนตัวแรกจนปูนพลาสเตอร์ที่ผสมไว้หมด ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที หรือใช้มือแตะถ้าแม่พิมพ์ร้อนแสดงว่าปูนพลาสเตอร์แห้ง

3. ให้แกะพิมพ์ออกจากแผ่นพลาสติกหรือกระจก โดยใช้มีดบาง ๆ แกะออกเบา ๆ เพื่อไม่ให้ปูนแตกร้าว ผสมปูน เช่น ข้อ 1 เทลงในแบบโดยการกลิ้งไปมาให้ทั่ว ห้ามบีบเหมือนการหล่อครั้งที่ 1 กลิ้งปูนทั่วแล้วเทปูนกลับภาชนะเดิมแล้วนำไปวางบนแผ่นพลาสติกเหมือนรอบแรก ทิ้งไว้ 30 นาที เพื่อให้ปูนพลาสเตอร์แห้ง แกะออกจากแผ่นพลาสติก เพื่อการหล่อครั้งที่ 3

4. ผสมปูนพลาสเตอร์เหมือนข้อที่ 2 แต่เพิ่มความเข้มข้นของปูนพลาสเตอร์ เพื่อความหนาของออมสิน โดยการหล่อออมสินครั้งที่ 3 โดยการกลิ้งปูนให้ทั่วเหมือนการหลล่อครั้งที่ 2 ให้เทปูนพลาสเตอร์ลงบนแผ่นพลาสติกที่จะนำแม่พิมพ์ออมสินที่หล่อครั้งที่ 3 เรียบร้อยแล้ววางลงบนปูนพลาสเตอร์เพื่อเป็นฐาน (ก้นออมสิน) ทิ้งไว้ให้แห้ง 30 นาที ใช้มือจับจะรู้สึกร้อน แสดงว่าปูนพลาสเตอร์แข็งตัว ควรทิ้งไม่ต่ำกว่า 1-2 ชั่งโมง จึงแกะแบบออก ได้ชิ้นงานที่สมบูรณ์ เสียหายน้อย หารรีบชิ้นงานจะแตกเสียหาย

5. แกะชิ้นงานแล้วตกแต่งชิ้นงานให้เรียบร้อย โดยใช้มีดเล็กตกแต่งให้เรียบร้อย นำไปตากแดดให้แห้ง ถ้าชิ้นงานไหนผิวไม่เรียบให้ใช้กระดาษทรายละเอียดขัดให้เรียบ พร้อมนำไประบายสี จำหน่าย หรือนำไปใช้เป็นออมสินในการเก็บออมเงินต่อไป

ผลงานที่สำเร็จพร้อมจำหน่าย


ออมสินปูนพลาสเตอร์ สามารถนำมาใช้ในการเก็บออมเศษสตางค์

ประโยชน์ 1. หล่อออมสินเป็นของใช้ได้

2. รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

3. รู้คุณค่าของการเก็บออมเงิน

4. เกิดทักษะและความคิดสร้างสรรค์

5. มีนิสัยรักการทำงาน

การเก็บรักษา ระบายสีตามจิตนาการ เก็บไว้ในห้องนอนเพื่อการเก็บออมเงิน

งบประมาณ ตัวละ 2 บาท

ข้อเสนอแนะ เปลี่ยนแปลงรูปแบบตามต้นแบบที่ตนชอบ